วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียนกับการศึกษา

ประชาคมอาเซียน



ASEAN Community คืออะไร
          อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
 
         1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง


         2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
         (ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
         (ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
         (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
         (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
       ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
       3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.วิศวกรรม (Engineering Services) 
2.พยาบาล (Nursing Services) 
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services) 
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications) 
5.แพทย์ (Medical Practitioners) 
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) 
7.บัญชี (Accountancy Services)

ที่มา http://nantanawk.wordpress.com/2011/08/26/%E0%B8%9B



กลไกขับเคลื่อนการศึกษา...ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

       จากกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความหลากหลายทั้งด้านสังคมและระบบเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก   ทำให้หลายประเทศต้องเร่งเตรียมพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเท่าเทียม
   ประเทศสมาชิกอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย  10 ประเทศ  คือ  ไทย  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  มาเลเซีย  บรูไน  เวียดนาม  ลาว  พม่า  และกัมภูชา  
       ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ  เราจะเห็นว่า ปริญญาว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ได้ให้ความสำคัญในการใช้กลไกการศึกษาขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2020  ที่มุ่งให้อาเซียนมีสัยทัศน์สู่ภายนอก  มีสันติสุข  และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในการเป็นหุ้นส่วนในสิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตยและมีอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน การพัฒนาที่มีพลวัตร และการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดและในสังคมที่เอื้ออาทรที่ระลึกถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์  รับรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน และเชื่อมในอัตลักษณ์ของภูมิภาค
       ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน  ได้ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก  โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง  ดังคำกล่าวตอนหนึ่งของ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี  ในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ที่ว่า
    “ประชาชนของอาเซียนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของอาเซียน เราต้องทำให้แน่ใจว่า พวกเขามีช่องทางที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาบุคคล และเราควรดำเนินการดังกล่าวโดยการส่งเสริมและลงทุนในด้านการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเสริมสร้างศักยภาพในด้านอื่น ๆ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า การลงทุนระยะยาวเพื่ออนาคตของประชาคม ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการสร้างประชาคมที่ยั่งยืนต่อไป”  
      ในส่วนของความร่วมมือด้านการศึกษาของประชาคมอาเซียนนั้น ได้มีการลงนามในปฏิญญาชะอำ-หัวหิน  โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและผู้นำของประเทศต่างๆ ในอาเซียน  ประกอบด้วยความร่วมมือใน 3 เสาหลัก คือ  ประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคง โดยใช้การศึกษาเป็นตัวนำ   ประชาคมด้านเศรษฐกิจ  ทุกประเทศจะต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก  และประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรม  ให้ถือว่าความงดงามมาจากความแตกต่างและหลากหลาย  วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน  แต่ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นจะช่วยสร้างความร่วมมือในลักษณะสังคมเอื้ออาทร  โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ทั้ง 3 เสาหลักส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน  เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จของการเป็นประชาคมอาเซียนได้ภายในปี 2558  หรืออีก 5 ปีข้างหน้า
     จากปฏิญญาดังกล่าว  ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งแสวงหาความร่วมมือเพื่อเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนเตรียมพร้อมเด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียนตามเป้าหมาย  โดยเฉพาะให้กลไกการศึกษาเป็นตัวนำสำคัญในการขับเคลื่อนให้สามารถก้าวไปได้อย่างมีทิศทาง ผสานประโยชน์ร่วมกัน  องค์กรหลักในกระทรวง ศึกษาดมความคิดในหลากหลายเวทีจากผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 เสาหลัก  รวมถึงผู้บริหารการศึกษา  ครูผู้สอน  นักวิชาการ  และผู้เกี่ยวข้อง  พบข้อเสนอแนวทางมากมาย  เช่น  การให้ความรู้แก่พลเมือง  ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และจิตสำนึกของพลเมืองอาเซียน  ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมจัดกิจกรรมด้านการศึกษา  สร้างเด็กให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานแลสถานประกอบการ การจัดหลักสูตรการศึกษาอาเซียน ด้วยการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน  เป็นต้น
  ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้เร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้รู้จักวัฒนธรรม  สังคม  ความเป็นอยู่ของเพื่อนอีก 9 ประเทศ   ที่จะสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ  โดยการดำเนินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) เพื่อรองรับการรวมกลุ่มของประเทศอาเซียน ในปี 2558   เช่น  โรงเรียน Buffer School  เป็นโรงเรียนที่อยู่ติดชายแดนกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ  ได้แก่  ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย  โรงเรียน Sister School   เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องของภาษาและ ICT  ที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ติดชายแดน  แต่มีประสานสัมพันธ์กับอาเซียน 5 ประเทศ  ได้แก่  เวียดนาม  สิงคโปร์  ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  และบรูไน   เป็นต้น    
      สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้ระดมความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้บริหารสถานศึกษา  ศึกษานิเทศก์  ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนเป็นการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน  โดยการกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยที่สอดรับกับประชาคมอาเซียน   การวิเคราะห์หลักสูตรในส่วนของอาเซียนศึกษา  การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพและแข็งแกร่งในประชาคมอาเซียน
      การพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นคงไม่เพียงพอ  แต่ยังต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีศักยภาพพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกได้อย่างมั่นใจ    ที่สำคัญคือทุกภาคส่วนในสังคมต้องผสานความร่วมมือขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


ขอขอบคุณภาพจากวิทยากร....  กรมอาเซียน   กระทรวงการต่างประเทศ





ที่มา http://social.obec.go.th/node/81




ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=360ATy3TQa4&feature=related

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น