วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต  (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง  "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก  โดยใช้โปรโตคอล (Protocol )  เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร



เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโตคอล


ชุดของกฎ หรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ผ่านเครือข่ายคอมผิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง

IPX / SPX
เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายที่ระบบปฏิบัติการ Netware
NetBIOS และ NetBEUI
เป็นโปรโตคอลที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาร่วมกับบริษัทไมโครซอฟต์ ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows เวอร์ชั่นต่างๆ
ICP/IP
เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบอินเทอร์เน็ตและมีแนวโน้มว่าจะถูกนำมาใช้แทนโปรโตคอลอื่นๆ ในอนาคต

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทุกระบบ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ด้วยเกณฑ์มาตรฐานโปโตคอล


Nประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไท 
 
        อินเตอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียต ที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศอเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารชื่อ ARPANET ขึ้นโดยออกแบบระบบให้เหมือนร่างแหที่กระจายไปทั่ว   ให้มั่นใจว่าหากถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์ เครือข่ายก็จะไม่ถูกตัดขาด ยังมีทางส่งข้อมูลอ้อมไปได้เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เฉพาเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไป  เครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลก มีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็วมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอยู่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับ ผู้เชื่อมต่อต้องลงทุนอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงจ่ายค่าสัมปทานจากรัฐ ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Povider) เก็บค่าบริการต่างกันขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อ ความเร็ว เวลาการใช้งาน
ค.ศ.1973  (พ.ศ.2516)
      มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆอีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น 
l NSFNET (National Science Foundation Network)
l CSNET ( Computer Science Network)
l EUNET (European Unix Network )  
   เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ เครือข่ายของเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
          - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
          - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
          - สายโทรศัพท์ทองแดง 
baud  ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า ยังมอริส - อีมิล โบด็อท
(jean - Maurice - Emile Baudot) เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข
ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem) ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค  ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

นับได้ว่า
อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต
เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
รัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP)ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา
     ในปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น  ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet (Thai Computer Science Network) มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX  ที่แพร่หลายในออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
      นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปัจจุบัน UUNet
       เป็น ISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเครือข่ายทั่วสหรัฐ ให้บริการ connection ตั้งแต่ 28.8 Kbps ถึง 155 Mbpsและยังเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และ ออสเตรเลียด้วย รวมๆ แล้ว UUNet บริการ Internet ถึง 114 ประเทศ
พ.ศ. 2534
อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
      อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ ใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP 
การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
       ได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538  โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand)
บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย
 (Internet Thailand)
โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย 
พฤศจิกายน 2544
แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่
ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทปัจจุบันมีองค์กรคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช.  ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีเป็นธรรม  ทำให้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย เปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพโดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูก ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาคุณภาพบริการให้สูงที่สุดและในราคาถูกที่สุดได้

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


      ยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน     
อินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่ายใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน ผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up คิดค่าบริการเป็นชั่วโมง
การใช้ โมเด็มโทรฯ
เรียกเข้าศูนย์บริการมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 28.8 kbps  เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง มีคุณสมบัติให้สัญญาณทางไฟฟ้าที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาที การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection ) เป็นวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้สายโทรศัพท์ และติดต่อผ่านโมเด็ม(Modem)  เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ ISP (Internet Service Provider)
ส่วนประกอบของการเชื่อมต่อ
                                                                                                                                                           
  1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC: Personnel computer)
 2.  หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน
 3.  โมเด็ม ( Modem )
 4.  ชั่วโมงอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (ISP)

โมเด็ม (Modulator Demodulator : Modem)
     มีหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล จากดิจิทัลให้เป็นอนาลอกและส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังปลายทาง ด้วยความเร็ว 56 Kbps ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าโทรศัพท์ครั้งละ 3 บาทและค่าบริการอินเทอร์เน็ตชั่วโมงละประมาณ 3-12 บาทบริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของ
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ปลายศตวรรษที่ 20
     เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (DataCompression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps ภายใต้ข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลกยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายทองแดง เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายลวดทองแดง ให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps
DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line คือเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดา
ให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอล ความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้เราสามารถส่งข้อมูล ในขณะเดียวกับการใช้งานโทรศัพท์ได้
เทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายเทคโนโลยี เช่น

        * HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line

        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line

        * IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
        * ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line

        * RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
        * VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
ขณะนี้เทคโนโลยี ADSL เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการเลือกใช้มากที่สุด เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มี ความเร็วสูง และระยะทางที่ทำงานได้ค่อนข้างไกล ซึ่งเหมาะสม ที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน ในปัจจุบันมากที่สุด  ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี VDSL ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 52 Mbps ก็อาจจะถูกนำมาใช้งานมากขึ้น
ADSL ย่อมาจาก
Asymmetric Digital Subscriber Line คือ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง มีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ
VDSL ย่อมาจาก
Very High Speed Digital Subscriber Line หรือ Very High Bit Rate Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีโดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วจะแปรผันตามระยะทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่ออื่นๆนอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้ ต่อมาเทคโนโลยีไร้สายเริ่มแพร่หลาย
       ในวงการโทรคมนาคมโดยเริ่มจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายนอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรกและพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างเป็น สิบๆ กิโลเมตร
สภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย
บริการบนอินเทอร์เน็ต
World Wide Webเป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 1989 โดย    ทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการ ทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรปหรือ  CERN (Conseil European  pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   โดยใช้ตัวอักษรและภาพกราฟิก ข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย แสดงผลในรูปของ hypertext links บริการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่าย WWW  (World Wide Web)
WWW เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก  ด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปของ Hypertext Links ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารอื่น ๆ  ได้อย่างสะดวก
WWW จะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายนี้ได้ ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว งานวิจัยข้อมูลสินค้า  หรือบริการต่างๆ สาระบันเทิงประเภทต่างๆ  รวมถึงฟังเพลงและชมภาพยนตร์
ค.ศ.1991
หลังจากมีระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น ในโลก Time  Berners Leeได้ใช้เทคโนโลยีต่างๆออกแบบ
World wild web ขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเชื่อมโยง สารสนเทศจากห้องสมุดต่างๆ
อย่างกว้างขวางและแพร่หลาย ในลักษณะของสื่อประสมโปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser )
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะทำงานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText MarkupLanguage) มาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
Microsoft Internet Explorer (IE)
เป็นเว็บเบราว์เซอร์ ที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตโดย  บริษัท Microsoft   มีประสิทธิภาพสูง เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ windows ตั้งแต่ windows 95 เป็นต้นไป
Plawan Browser
พัฒนาโดยคนไทย   สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับเว็บบราวเซอร์ชั้นแนวหน้าอื่นๆ แต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนู การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์ (home page , web page และ web site)
l web page        หน้าเอกสารที่เป็นกระดาษแต่ละหน้า
l home page     หน้าแรกที่ผู้ใช้จะพบเมื่อเรียกเข้าไปยัง   เว็บไซต์ใด
l Web Site         โฮมเพจและเว็บเพจหลาย ๆ หน้าซึ่งเป็น ของหน่วยงานเดียวกัน
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server)  
คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์  ในรูปแบบของเอกสาร HTML    โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่งเอกสาร HTML  ไปแสดงผลในเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้เมื่อมีการเรียกใช้
วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.   เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น  e-mail  chat และ  webboard
2.   เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information)  เป็นลักษณะของการใช้งานสารสนเทศผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (www) 
3.  เพื่อความบันเทิง (entertainment)  เช่น เว็บไซต์บันเทิง  เกมส์คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง
4.  เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business)  เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์  แสดงสินค้า และให้บริการลูกค้า  เป็นต้น      
ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต
การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ต  มี 3 ระดับดังนี้
1.            IP Address (Internet Protocol Address)
2.            DNS (Domain Name System)
3.            URL (Uniform Resource Locator)
IP Address
เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งจะเป็นหมายเลขให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เชื่อมโยงถึงได้  แต่หมายเลขจำยาก จึงเทียบเคียงเป็นตัวอักษรในอนาคต อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดรวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จะมี IP Address เป็นของตนเอง และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
Domain Name System
คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อที่สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย
หน่วยงาน
IP Address
Domain Name
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
192.168.83.25 
www.dpu.ac.th
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
202.44.204.33
www.nectec.or.th
Dtac
203.155.21.178
www.dtac.co.th
เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP  ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้

โดเมนเนมระดับสูงสุด  (top level domain)
คือส่วนที่อยู่ตำแหน่งขวาสุด  เป็นส่วนที่บอกชื่อประเทศและลักษณะขององค์กร  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
* โดเมนเนมระดับสูงสุดที่บอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน
* โดเมนเนมระดับสูงสุดที่บอกถึงประเภทของ องค์กรเจ้าของโดเมน




ปัจจุบันได้มีการอนุมัติให้ใช้ชื่อโดเมนระดับบนสุด
เพิ่มขึ้นอีก 7
ชื่อ  ได้แก่

โดเมนเนมระดับรอง (second level domain)ใช้คู่กับโดเมนเนมระดับสูงสุดที่บอกชื่อประเทศ
เพื่อระบุประเภทขององค์กรเหล่านั้น
โดเมนเนมระดับที่สาม (third level domain)เป็นส่วนของโดเมนที่ระบุชื่อขององค์กร  เช่น  dpu.ac.th     nectec.or.th  ais.co.th    navy.mil.th  เป็นต้น
URL (Uniform Resource Locator)
เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  สามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้งาน
URL ย่อมาจาก Uniform Resource Locator  
หมายถึงรหัสค้นข้อมูลบนข่ายงานอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการเวิล์ดไวด์เว็บ
Hyper Text Transport Protocol (HTTP)
กฎเกณฑ์การส่งไฮเพอร์เท็กซ์ (เอชทีทีพี) มาตรฐานอินเทอร์เนตที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล บนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยการกำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน รวมถึงแฟ้มที่เข้าถึงได้ในกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol : FTP) กฎเกณฑ์การส่งไฮเพอร์เท็กซ์
ให้ผู้เขียนเว็บสามารถฝังจุดเชื่อมโยงหลายมิติ (hyperlink) ในเอกสารในเว็บได้ เมื่อคลิกแล้ว จุดเชื่อมโยงจะเริ่มกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลซึ่งเข้าถึงและค้นคืนเอกสารให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำสิ่งใด  โดยไม่ต้องทราบว่าเอกสารนั้นมาจากที่ ใดหรือเข้าถึงได้อย่างไร
ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิงการบรรยายเอกสารแบบไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia document description language)
host
แม่ข่าย , แม่งาน คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ในอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำงานเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการถ่ายโอนข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้จะมีเลขอยู่ (เรียกว่า IP address) และชื่อเขตเป็นของตนเอง
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
IP Address                 192.168.83.25 
DNS                            dpu.ac.th
URL คือ                      http://www.dpu.ac.th
เว็บไซต์ของเนคเทค
IP Address                 202.44.204.33
DNS                            nectec.or.th
URL คือ                      http://www.nectec.or.th

วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
*การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ
*การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )
*ISDN  (Integrated Services Digital Network)
*ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
*Cable Modem     *Satellite      *Leased Line        
*WiFi                     *WiMax       *Air card
โปรแกรมค้นหา (Search Engine)
l  โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ดัชนี (Index  Search Engine)
l  โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (Keyword Search Engine)
l  โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine) 
l  บัญชีรายชื่อเว็บไซต์(Web Directory)
เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ  จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้ในฐานข้อมูล  เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลหรือเว็บเพจ, เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูล  รูปภาพ หรือเว็บเพจ ในรูปแบบเท็กซ์ หรืออื่นๆเป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้โดยอัตโนมัติเว็บไซต์ที่ให้บริการโปรแกรมค้นหาจะถูกเขียนขึ้นให้มีโปรแกรมประเภทโรบอท(Robot) สไปเดอร์(Spider) ครอเลอร์(Crawler) ทำหน้าที่เข้าไปสำรวจในเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วนำคำสำคัญที่มีในหน้านั้น ๆ มาทำเป็นดัชนี เพื่อส่ง URL ของเว็บนั้น ๆ มาแสดงให้ผู้ใช้ทราบ
โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine)
โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine) โปรแกรมประเภทนี้ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่จะไปดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ มาแสดงผล
ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่
ค้นจากบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ (Directory)
เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อของเว็บอื่น ๆ มาจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาในเว็บไซต์นั้น ๆ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คัดเลือกและพิจารณาจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์เหล่านั้น  ข้อดีก็คือ จะทำให้สามารถเลือกเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีมารวบรวมไว้ได้
ตัวอย่างของ webที่ให้บริการบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ได้แก่   www.yahoo.com     www.looksmart.com        www.sanook.com    www.hunsa.com
เทคนิคการค้นข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
1.            คำที่ใช้ค้นเรียกว่า  คำค้น (KEYWORD) 
2.            คำค้นควรให้ตรงประเด็น  หรือ คำใกล้เคียง
3.            เลี่ยงการใช้คำพูด  ตัวเลขในการค้น  ถ้าจำเป็นใช้ “..........”
4.            การใช้เครื่องหมายและ
            "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฏอยู่ในหน้าเว็บเพจ
            +เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ
"-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น
โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่
            โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา
ตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้ำดอกไม้
            หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียวกัน
การค้นหาข้อมูลด้วย search engine
เทคนิคการค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (keyword) 
1.
 
คำสำคัญที่เป็นภาษาไทย
2.
 
คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ
3.
 คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน

1) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทย
ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ  นักคณิตศาสตร์
 
คำสำคัญอันดับแรก ก็คือ นักคณิตศาสตร์ 
แต่อาจดูกว้างไป  และผลการค้นหาก็มากเกินไปหลายสิบหน้า  ดังนั้นจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงเช่นต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้แก่   นัคณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก จะได้ผลการค้นหาจำนวนน้อยลง  ง่ายที่เราจะเลือกลิงค์ที่ต้องการได้
ในกรณีที่คำสำคัญนั้นแสดงผลการค้นหาว่าไม่พบข้อมูลที่ต้องการ  ให้ลองเปลี่ยนคำสำคัญใหม่ไปเรื่อยๆ  คำสำคัญควรระบุอย่างน้อย 2 คำ จะทำให้ผลการค้นหาแคบลงเท่าที่ต้องการ
2) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ
ถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ  นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก
เป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรก อาจใช้  greek mathematician 
และถ้าใช้เครื่องหมาย “     คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆ
ผลการค้นหาจะแตกต่างกัน
“greek mathematician”
การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
คำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้แก่  AND  OR  NOT  
วิธีการใช้งาน  มีดังนี้
1. AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ  
เช่น  chemistry AND atomic theory หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน
2. OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหา
ประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับคำ ว่า OR 
เช่น  physics  OR  mechanics หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำ ว่า  physics  หรือ  mechanics คำใดคำหนึ่งก็ได้
3. NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า  NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT     เช่น  mathematics  NOT  calculus  หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า  mathematics  แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus  อยู่ด้วย
        บีบประเด็นหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ หรือ  Computer  และควรค้นหาคำ    ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหาด้วย เช่น  information technology หรือ IT เป็นต้น เลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้  ให้ใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98" ใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย   + ใช้กับคำที่ต้องการใช้ในการค้นหา และ   - ใช้กับคำที่ไม่ต้องการในการค้นหา
เครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฏอยู่ในหน้าเว็บเพจ 
การใช้เครื่องหมายบวกต้องพิมพ์ติดกับคำหลักเสมอ ไม่ควรมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก เช่น   +เศรษฐกิจ  +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่ค้นได้จะปรากฏ
คำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ หรือ   +เศรษฐกิจ การเมือง
โดยคำว่า   "การเมือง" ไม่มีเครื่องหมายบวก "+" หมายถึง การค้นหาหน้าเว็บเพจที่มี คำว่า " เศรษฐกิจ" โดยในหน้าเอกสารนั้น  อาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏ
คำว่า "การเมือง" ก็ได้
เครื่องหมายลบ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฏคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น  โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า รีสอร์ท อยู่ การใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ  +A -B  โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา ตัวอย่าง  +มะม่วง  -มะม่วงอกร่อง  -มะม่วงน้ำดอกไม้
หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฏคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียวกัน
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.  ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.  ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.  ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.  ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.  ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.  ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
         (บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต : ยืน ภู่วรวรรณ)

อินทราเน็ต (INTRANET)
อินทราเน็ต เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท  ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น  ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่น  ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขา หรือ
จะอยู่คนละภูมิภาคก็สามารถสื่อสารกัน  (Interfacing)   ได้ เหมือนอินเทอร์เน็ตทั่วไป  ด้วย Function การ Log-in มีระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์    มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว  มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติIntranet เป็นเว็บไซต์ที่อยู่ภายในบริษัท  พนักงานสามารถเข้ามาใช้ งานได้  แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้  ข้อมูลในเว็บไซต์อาจจะ บันทึกการทำงาน การขาด หรือลาป่วย ของพนักงาน แต่ละคน ซึ่ง สามารถเข้ามาเช็คได้...
ข้อดีของอินทราเนต ได้แก่การเป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับ องค์กร แต่ในขณะเดียวกันสามารถเชื่อมต่อกับระบบ อินเทอร์เน็ตภายนอกได้  โดยอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกัน

เอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ  ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า   บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันในสื่อสารระหว่างองค์กรซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาต เข้าใช้เครือข่าย  มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กร ระหว่างกัน นิยมใช้ในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า (Alliance) ที่อาศัยข้อมูลร่วมกัน  (Collaboration Commerce;  C-Commerce)  เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า  
และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบสนทนาแบบ Real time