วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

60 ปีไทยโทรทัศน์

   
ประวัติความเป็นมา
        บมจ.อสมท ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดให้มีการบริการออกอากาศวิทยุและโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทย โดยผู้นำรัฐบาลได้เสนอจัดตั้งโครงการที่ชื่อว่า "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีและเหล่าข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ ได้เลี่ยงไปจัดตั้งเป็นบริษัทที่มีชื่อว่า บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 (ซึ่งในความจริงแล้วควรจะให้หน่วยงานราชการจัดตั้งสถานีเอง) ต่อมาในภายหลัง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ประสบปัญหาในการดำเนินกิจการ รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงได้มีมติให้ยุบเลิกกิจการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และได้มีการตรา พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) พ.ศ. 2520 ขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520 เพื่อดำเนินการจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่อง หรือใกล้เคียง กับกิจการสื่อสารมวลชน ทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักร และให้โอนพนักงาน และลูกจ้าง ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เข้ามาเป็นพนักงานขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งรับโอนกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด มาดำเนินการต่อ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา
         ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 อ.ส.ม.ท. ได้ก่อตั้งสำนักข่าวไทยขึ้นมาเพื่อดำเนินงานด้านข่าวอีกหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการจัดตั้งสำนักข่าวอย่างเป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2532 อ.ส.ม.ท. ได้เป็นผู้มอบคลื่นความถี่ระบบเคเบิล (CATV),สัมปทานให้ภาคเอกชนเช่าสัมปทานและความถี่ และได้ร่วมดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนในการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกเป็นครั้งแรกของประเทศไทยคือ ยูทีวี และ ไอบีซี ซึ่งปัจจุบันดำเนินการในนาม ทรูวิชั่นส์ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 บมจ. อสมท ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ด้วยการแปลงสภาพองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยทั้งองค์กรเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจฯ โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 600 ล้านหุ้น โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว
บริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และกระจายหุ้นสู่มหาชนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และบริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด เป็นบริษัทย่อย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สำหรับผลิตรายการและสารคดีให้กับ บมจ.อสมท, หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อเผยแพร่หรือขายให้กับสถานีโทรทัศน์ทั้งในและต่างประเทศ

การประกอบธุรกิจ

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
กิจการวิทยุโทรทัศน์ ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เปลี่ยนชื่อมาจาก สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 กับ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 แลเปลี่ยนเป็นระบบสีในปี พ.ศ. 2517 ดำเนินการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง โดยแพร่ภาพออกอากาศจากสถานีแม่ข่าย ซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานใหญ่ ไปยังสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาคจำนวน 35 สถานีทั่วประเทศ มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณ 87% และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการประมาณ 88.5%

เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอท

เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอท เป็นอีกหนึ่งในกิจการโทรทัศน์ของ บมจ.อสมท ออกอากาศจำนวน 2 ช่องรายการ ซึ่งสามารถรับชมได้ทางทรูวิชั่นส์ ในระบบดิจิตอล โดย MCOT1 ออกอากาศทางช่อง 78 (ปัจจุบันคือช่อง 98) และ MCOT2 ออกอากาศทางช่อง 79 (ปัจจุบันคือช่อง 99 และเปลี่ยนเป็นช่องอาเซียนทีวี) ดำเนินการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงทั้งสองช่อง โดยออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ครบรอบ 30 ปี ในปี พ.ศ. 2550 โดยทั้งสองช่องรายการ ออกอากาศรายการและสาระต่าง รวมทั้งข่าวสาร การถ่ายทอดสด และกีฬาต่างๆ เป็นต้น

สถานีวิทยุโมเดิร์นเรดิโอ

กิจการวิทยุกระจายเสียง ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497 ภายใต้ชื่อ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ในปัจจุบันทำการส่งกระจายเสียงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีจำนวนสถานีทั่วประเทศทั้งหมดจำนวน 62 สถานี ประกอบไปด้วย สถานีวิทยุที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 9 สถานี แบ่งเป็นระบบ FM 7 สถานีและระบบ AM 2 สถานี และในส่วนภูมิภาค ส่งกระจายเสียงในระบบ FM 53 สถานี มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณ 92.4% และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการประมาณ 93.8% ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตเพื่อทำการจัดตั้งสถานีเครือข่ายเพิ่มเติม เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการ

สำนักข่าวไทย

ดูบทความหลักที่ สำนักข่าวไทย
กิจการบริการข่าวสาร ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สำนักข่าวไทย ก่อตั้งขึ้น ภายหลังการก่อตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นศูนย์กลางในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยนำเสนอผ่านทางสื่อของบริษัท ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี, เครือข่ายสถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ, สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ขยายความร่วมมือด้านต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข่าวสารกับสำนักข่าว และสื่อสำคัญๆ ทั่วโลก

ธุรกิจอื่น

บมจ.อสมท มีธุรกิจย่อย ในกิจการผลิตรายการโทรทัศน์และสารคดีโทรทัศน์ คือ บริษัท พาโนรามา เวิลด์ไวด์ จำกัด ซึ่งได้จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดย บมจ.อสมท มีสัดส่วนการถือหุ้น 49% นอกจากนี้ บมจ.อสมท ยังได้ร่วมดำเนินการกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ประกอบไปด้วย 2 กิจการหลักที่สำคัญคือ ร่วมกับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (บีอีซี) ในการดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท รวมทั้งให้เช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาทางสถานีวิทยุ FM 105.5 MHz และร่วมกับ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก

ตราสัญญาลักษณ์

พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2520

บจก.ไทยโทรทัศน์ ใช้ตราสัญลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เป็นตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน

พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2547

หลังการก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยฝั่งบนมีสีที่กระจายอยู่ 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน และมีตัวอักษรคำว่า อ.ส.ม.ท. แบบโค้งสีดำ อยู่ฝั่งล่างพื้นหลังเป็นเหลือง ซึ่งอยู่ฝั่งล่าง แต่ในเอกสารจะใช้แบบโครงเส้น

พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน

หลังจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ก็ใช้สัญลักษณ์ของโมเดิร์นไนน์ทีวี มาเป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%97#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4


ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=EimrQjmevCw

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต  

       ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่ 
       คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์ 

ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย 

          การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่ - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ 
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
- มหาวิทยาลัยมหิดล 
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ 
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่        เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet_thailand.html




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=n_7W4eCtKOg